1.เว็บต้นฉบับ
2.ออกแบบใหม่
อย่างใดอย่างหนึ่ง เครื่องหมาย มักได้รับการใช้ก็ต่อเมื่อไม่ต้องการที่จะคงลักษณะของตัวอักษรไว้หรือ กล่าวคือผู้ชมสามารถเปลี่ยนตัวอักษรให้เป็นไปตามความต้องการของเขาเหล่านั้นได้ แต่ในทางกลับกัน คือ ไม่อยากให้รูปแบบนั้นเปลี่ยน ก็ต้องใช้คำสั่งเป็น นอกจากนี้ สำหรับการกำหนดระยะห่างระหว่างบรรทัด และระยะห่างระหว่างตัวอักษรนั้น จะไม่สามารถกำหนดหรือควบคุมได้ นักออกแบบสามารถใช้ขนาดของตัวอักษรที่ถูกกำหนดมาแล้ว ให้มีลักษณะเป็นตัวเอียง(ltalic)หรือตัวหนาและเอียงได้ และตัวอักษรที่เราใส่ลงไปนั้น ก็สามารถใส่สีลงไปในตัวอักษรนั้นได้ด้วย อย่างไรก็ตามในการให้สีของตัวอักษร ไม่ควรใส่สลับกันมากเกินไป เพราะจะทำให้เว็บเพจที่ออกมามีความสับสน การแสดงผลของรูปแบบตัวอักษรที่ออกแบบมา อาจแสดงผลออกมาแตกต่างกันไปตามลักษณะของบราวเซอร์แต่ละตัว บางตัวไม่สามารถกำหนดให้ตัวอักษร Time Roman หรือ Courier(2 ตัวอักษรนี้ มักถูกใช้ในการสร้างเว็บเพจ)เป็นตัวอักษรพื้นฐาน(Default)ได้ขณะเดียวกัน ผู้ใช้บางคนก็ได้เปลี่ยนตัวอักษรพื้นฐานเป็นตัวอักษรอื่นๆ นอกจากนี้ ไม่ใช่บราวเซอร์ทุกตัว จะสามารถแสดง ขนาด สี ตลอดจนรูปแบบของตัวอักษรที่เราสร้างขึ้นได้ และใช่ว่าจะมีข้อแตกต่างระหว่างบราวเซอร์ อย่างเดียว ความแตกต่างของระบบก็เป็นข้อควรระวังอีกประเภทหนึ่ง กล่าวคือ ขนาดของตัวอักษรชนิดเดียวกันซึ่งเปิดดูด้วยพีซี จะมีขนาดที่แตกต่างจากแมคอินทอช สำหรับข้อแก้ไขในเรื่องนี้ก็คือ เก็บข้อมูลว่าบราวเซอร์แบบใด ผู้ใช้นิยมมากแล้ว จึงออกแบบให้ใช้ได้กับบราวเซอร์นั้นๆ ถึงแม้ว่าการสร้างเว็บเพจ จะต้องเผชิญกับข้อจำกัดในเรื่องของรูปแบบตัวอักษรที่จะใช้ แต่ทั้งนี้ด้วยข้อจำกัดของตัวอักษรที่มีอยู่ ก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จาก ความแตกต่างของแบบตัวอักษรทีมีอยู่ แสดงถึงข้อแตกต่าง ระหว่างหัวข้อ วิธีการเรียงหัวข้อ โดยใช้ตัวอักษรที่แตกต่างบนเว็บนั้น สามารถทำได้โดยง่าย เนื่องจากข้อจำกัดที่เคยกล่าวไว้นั้นเอง ทำให้รูปแบบที่จะนำมาใช้มีให้เลือกน้อย การเน้นตัวอักษรให้แตกต่างนั้น อาจใช้สร้างหัวข้อนั้นๆ ให้เป็นรูปภาพ แล้วนำมาประกอบลงในเว็บเพจกได้เช่นกัน