Powered By Blogger

เกี่ยวกับฉัน

วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553

การใช้ตัวอักษร (TYPOGRAPHY)

ไทโปกราฟีค (Typography ) หมายถึงตัวพิมพ์ การทำตัวพิมพ์ ศิลปะการพิมพ์ การพิมพ์ด้วยตัวพิมพ์ การจัดตัวเรียง และผลงานการพิมพ์อันเนื่องมาจากตัวพิมพ์

ตัวอักษร เป็นพยัญชนะ ตัวหนังสือ ตัวเลข ที่มาเรียงเป็นข้อความ เป็นส่วนหนึ่งของงานพิมพ์ซึ่งมีความสำคัยิ่ง เพราะช่วยให้เกิดการสื่อสารตามจุดประสงค์ของสิ่งพิมพ์นั้น ในการพิมพ์ระยะแรกๆ (ประมาณกลางศตวรรษที่ 5 ) ยังไม่มีการพิมพ์ตัวอักษร ส่วนมากเป็นการพิมพ์ในลักษณะการประทับตราและพิมพ์เป็นภาพ ต่อมามีความจำเป็นในการที่จะต้องบันทึกเรื่องราวบันทึกหลักฐานต่างๆไว้ หรือแจ้งข่าวให้คนส่วนใหญ่รับยรู้ จึงเกิดการพิมพ์เป็นตัวอักษรขึ้น และมีการพัฒนาต่อเนื่องกันมา โดยเริ่มตั้งแต่การเขียน การออกแบบตัวอักษร (Lettering ) จนในปัจจุบันเรามีตัวอักษรที่สร้างขึ้นเป็นแบบมาตรฐาน เรียกว่าตัวเรียงซึ่งมี 2 ลักษณะ คือตัวเรียงแบบร้อน เกิดจากการหล่อด้วยโลหะเช่นตะกั่ว ทองแดง ฯลฯ และตัวเรียงแบบเย็น เกิดจากการสร้างตัวอักษรโดยใช้ระบบการอัดภาพบนแผ่นกระดาษ ตัวเรียงแบบเย็นนี้ จะต้องนำไปผ่านกระบวนการอื่นอีขั้นหนึ่งก่อนจึงจะเป็นแม่พิมพ์ได้ (ถ่ายฟิล์ม อัดเพลท) เพื่อให้นักศึกษารู้จักความเป็นมาของตัวเรียง


ในการเลือกตัวอักษร สำหรับการทำต้นฉบับสิ่งพิมพ์ จุดสำคัญคือ ควรอ่านได้ง่าย (Legibility ) เข้าใจง่าย (Readability ) และมีความงาม น่าสนใจ (Beautifullity ) นอกจากนี้ควรคำนึงถึงข้อต่างๆต่อไปนี้

1. รูปแบบตัวอักษร
(Type Face ) อักษรไทยมีหลายรูปแบบ สามารถจัดเป็นกลุ่มได้เช่น ตัวแบบราชการ ตัวแบบอารักษ์ ตัวแบบหัวกลม ตัวแบบหัวตัด (ตัวลิปบิ้น) ตัวแบบไม่มีหัว (ตัวหัวบอด) และตัวประดิษฐ์ ควรเลือตัวให้เหมาะสมกับงานเช่น งานเอกสารตำราควรใช้ตัวอักษรในกลุ่มตัวแบบราชการ บัตรเชิญสำหรับผู้ใหญ่ควรใช้ตัวแบบอารักษ์ การ์ดเชิญสำหรับวัยรุ่นควรมีลักษณะที่กันเอง เก๋ แปลกตา เป็นต้น อักษรภาษาอังกฤษ จะแบ่งเป็นกลุ่มๆ มีโค๊ตหรือรหัสกำกับไว้ให้เลือกใช้ได้มากมาย
2. ขนาดของตัวอักษร (Size ) ขนาดความสูงของตัวอักษรควรจะสอดคล้องกับวัยของผู้อ่าน การรับรู้ของกลุ่มเป้าหมาย ตำแหน่งหรือระยะในการมองเห็น ตัวอักษรภาษาอังกฤษควรใช้ความสูง 9,10,11,12 พ้อยท์ เป็นตัวพื้น ในขณะที่ภาษาไทยใช้ความสูง 12,14,16 พ้อยท์เป็นตัวพื้น นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงความกว้างของคอลัมน์ และการเว้นวรรคด้วย เช่น ตัวอักษรขนาด 9,10,11,12 พ้อยท์ ควรใช้ความกว้างของคอลัมน์ 18-24 ไพก้า (ประมาณ 7-13.5 เซ็นติเมตร) จะทำให้อ่านได้ง่ายขึ้น

3. ความกลมกลืนของตัวอักษร ควรใช้ตัวอักษรที่มีลักษณะเข้ากันได้ (Unity ) เป็นตัวอักษรแบบเดียวกันหรือคล้ายกัน เพื่อให้เกิดความกลมกลืนหรือความเป็นหน่วยเดียวกัน
4. ลักษณะและอารมณ์ของตัวอักษร
(Type Carecter) ตัวอักษรแต่ละแบบให้อารมณ์และความรู้สึกที่แตกต่างกัน จึงควรพิจารณาใช้ให้เหมาะสมกับเรื่องที่ต้องการแสดงออกเช่น ความหวานซึ้งของนวนิยาย ความลึกลับน่าสะพึงกลัว ของเรื่องผี ความยิ่งใหญ่ของ เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ส่วนใหญ่ จะเป็นตัวประดิษฐ์หรือตัวเรียง
5. ความกว้างของข้อความหรือคอลัมน์
(Colum ) ควรกำหนดให้เหมาะสมกับขนาดความกว้าง ยาว ของสิ่งพิมพ์ เช่นถ้าเป็นหนังสือขนาด 8 หน้ายกธรรมดาหรือ 8 หน้ายกพิเศษ 2 คอลัมน์จะกว้างประมาณ 8 -9 เซนติเมตร ถ้า 3 คอลัมน์จะกว้างประมาณ 5-6 เซนติเมตร นิตยสารบางฉบับอาจทำเป็น 4 คอลัมน์เพื่อให้ดูโปร่งตา น่าอ่าน ซึ่งจะกว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น